ด้านการทำงาน

(Creation)

เมื่อกลับมาประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2481 ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงได้เข้ารับราชการที่กองดุริยางค์สากลกรมศิลปากร ซึ่งในช่วงที่รับราชการได้เกิดสงครามเอเชียบูรพาขึ้น กองทัพบกได้เชิญประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงไปประจำอยู่กองทัพไทย โดยทำหน้าที่เป็นล่ามภาษาญี่ปุ่นเป็นเวลา 4 ปี
ภายหลังสงครามสงบ ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงได้ลาออกจากราชการที่กรมศิลปกรและประกอบอาชีพด้วยการเป็นอาจารย์พิเศษสอนดนตรีที่โรงเรียนการเรือนพระนคร (ปัจจุบันคือ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต) โรงเรียนพาณิชย์วิทยาลัย และผู้ที่มีความสนใจส่วนตัวที่ต้องการศึกษา การเล่นเครื่องดนตรีสากลต่างๆ

คณะนาฎศิลป์ผกาวลีไปแสดงบนเรือ ณ ท่าเรือแห่งประเทศไทย

คณะผกาวลีไปแสดงที่ประเทศสิงคโปร์

รูปรวมกับศิษย์เก่าคณะผกาวลีในงานต้อนรับ Mr.Sakakibara

ช่วงหลังสงครามยังไม่มีภาพยนต์ต่างประเทศเข้ามาฉาย คนไทยในยุคนั้นนิยมดูละคร ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงได้รวมทุนกับญาติพี่น้องตั้งคณะละครเวที ชื่อ "คณะศิษย์เก่าศิลปากร " แสดงเรื่อง “ผกาวลี” ที่โรงละครเก่า กรมศิลปากรเป็นเรื่องแรก ละครเรื่องนี้เป็นที่นิยมมากจนต้องแสดงอีกเป็นครั้งที่ 2 และในการแสดงครั้งหลังนี้ได้มีโอกาสแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และสมเด็จเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชฯ ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8

บทเพลงเพลงละครของผกาวลีชุดแรก

SIAMESE ROYAL MARCH

บทเพลงละครคณะผกาวลีชุดที่สอง

กำเนิดผกาวลี​

การบันทึกแผ่นเสียงเพลงไทยเดิม ๒๔๕๐

กลับด้านบน