ผลงานสำคัญ

(Masterpieces)

การประพันธ์ดนตรีของประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง เป็นการประพันธ์ดนตรี ลักษณะ Classic ในแนว Romance ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของผลงานของท่าน ที่พอจะจำแนกได้ดังนี้

King Juan Carlos และ Queen Sofia แห่งประเทศสเปน มาชมการแสดงนาฎศิลป์ไทยของโรงเรียนผกาวลี นาฎดุริยางค์ พ.ศ.2502

Queen ingrid เสด็จเยี่ยมคณะผกาวลี หลังการแสดงที่หลังเวทีกรุงสตอคโฮมส์ ประเทศสวีเดน

  • ดนตรีสำหรับวงซิมโฟนี
    • Siamese Suite ประกอบด้วย 4 Movements โดยที่ท่อนแรกให้ใช้ชื่อว่า Moon Over the Temple เป็นผลงานวิทยานิพนธ์ ประพันธ์ที่กรุงโตเกียว ส่วนท่อนสุดท้ายชื่อ At a Wedding in Bangkok’s China town นั้น เอาผลงานเพลงละครที่ประพันธ์ไว้มาขยายสำหรับเล่นด้วยวงซิมโฟนี งานประพันธ์ชิ้นนี้เกิดขึ้นเมื่อท่านอายุได้ 40 ต้น ๆ
    • Siang Tian Symphonic Poem (เสี่ยงเทียน) พร้อมการร้องประสานเสียงของหมู่นักร้องหญิง ผลงานประพันธ์นี้ถือเป็นการรังสรรค์ร่วมกันระหว่าง สองดุริยกวีผู้เป็นบิดา และบุตรเนื่องจาก ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ได้เลือกเพลงไทยเดิม คือ “ลาวเสี่ยงเทียน” ท่อนที่เป็นทางกลับซึ่ง หลวงประดิษฐไพเราะได้ประพันธ์ไว้ มาแต่งเติมเพิ่มขยายในแนวสากลตะวันตก ตามแบบแผนดนตรีซิมโฟนีที่นิยมกระทำกัน งานประพันธ์ชิ้นนี้สมบูรณ์เมื่ออายุได้ 77 ปี

ไปประชุมสภาดนตรีที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปินส์และเพลง Siamese Suite ได้รับการบรรเลงเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2498

เมื่อครั้งพาคณะนาฎศิลป์และดนตรีไทยไปแสดงที่ยุโรป สหรัฐอเมริกา และอเมริกาใต้

เปิดตัวเพลงประจำมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญที่ประพันธ์ให้สองเพลง บรรเลงโดยวงซิมโฟนีกรุงเทพ ที่ศูนย์วัฒนธรรม

งานเปิดสมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น เป็นครั้งแรกที่อาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงได้นำเพลง "เสี่ยงเทียน" ร่วมบรรเลงเครื่องดนตรีไทย คู่กับเครื่องดนตรีญี่ปุ่น (โกโตะ)

    • Cherd Nai Overture (โหมโรงเพลงเชิดใน) จากโครงสร้างเพลง “เชิดใน” ของบิดา ได้นำมาประพันธ์ใหม่ตามแบบแผนเพลงโหมโรงของวงดนตรีซิมโฟนีตะวันตก โดยประพันธ์สกอร์ของเปียโนเสร็จเมื่ออายุ 86 ปีและป่วยเป็นโรคปอดอักเสบจึงต้องให้ Mr. John Georgiadis ทำการเรียบเรียงเสียงประสานต่อจนจบสำหรับบรรเลงโดยวงซิมโฟนีขนาด 70 คน
    • Siamese Romances in D จากผลงานการประพันธ์เพลงละคร 3 ชิ้น ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง และลูกศิษย์คนสุดท้ายที่สนิทสนมกันมาก (คุณอัปสร กูรมะโรหิต โดยพื้นฐานเป็นสถาปนิก) ได้นำมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ในแนว Medley ที่น่าสนใจคือการที่นำเอาเพลงไทยเดิมของบิดาอีก 2 เพลง คือโลมเหนือ และ โลมพม่า มาประพันธ์ใหม่ในแนวสากลตะวันตกให้เป็นส่วนหนึ่งของ Medley รวมแล้วมี 5 เพลงสั้น ๆ เข้าด้วยกันในลักษณะของ Dramatic Suite for Orchestra
    • Soke Pama (โศกพม่า) บทประพันธ์เดิมของท่านบิดา ที่เคยมีผู้นำไปร้องในลักษณะเพลง “ลูกกรุง” แต่ประสิทธิ์ ได้ประพันธ์ในแนวสากลตะวันตกสำหรับวงซิมโฟนีอย่างถูกต้องตามแบบแผน ถ้าผู้มีอายุหน่อยและจำเพลงได้ จะเห็นความแตกต่างของแนวทางการประพันธ์ประเภท "ลูกกรุง" และการบรรเลงแบบวงซิมโฟนี อย่างชัดเจน
    • ดำเนินทราย (Damnern Shgh) with voice จากเพลงไทยเดิมของท่านบิดา ประสิทธ์และลูกศิษย์อัปสร ได้ร่วมกันเรียบเรียงขึ้นใหม่ สำหรับวงซิมโฟนี และมีการขับร้องด้วยเสียงโซปราโน
  • ดนตรีสำหรับ วง String Quartet
มีเครื่องดนตรี 4 ชิ้น ประกอบด้วยไวโอลิน 1 และ 2 วิโอล่า และเชลโล่ จัดอยู่ในประเภทเครื่องสายสำหรับวง Chamber music ได้แก่บทประพันธ์คือ
    • ดำเนินทราย (โดยใช้โครงสร้างดนตรีไทยเดิมของบิดา)
    • เสี่ยงเทียน (โดยใช้โครงสร้างดนตรีไทยเดิมของบิดา)
  • เพลงประกอบการแสดงละคร
หลวงประดิษฐไพเราะ ประสิทธิ์ ภริยา และญาติ ได้จัดตั้งคณะละครผกาวลีขึ้นเพื่อแสดงละครประกอบเพลง (ในลักษณะบรอดเวย์ที่อเมริกา หรือ เวสท์ เอ็นด์ที่อังกฤษ เช่นละครเพลงเรื่อง Phanthom of the Opera ของ Andrew Lloyd Weber และ Miss Saigon เป็นต้น) และเขียนบทเพลงสำหรับพระเอก, นางเอก, หรือตัวละครในเรื่องนั้น ๆ ขับร้องร่วมกับวงดนตรีสากลขนาดเล็ก ใช้เครื่องดนตรีประมาณ 14 ชิ้น การประพันธ์เพลงเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงอายุ 35-39 ปี

เพลงสำคัญ ๆ ซึ่งได้ใช้ประกอบการแสดงละครในละครคณะผกาวลี

  • เรื่อง ความพยาบาท
  • ชายซ้าย : ส.อาสนจินดา
  • ชายกลาง : วลิต สนธิรัตน์
  • หญิงขวา : สวลี ผกาพันธ์

เรื่อง กามนิต วาสิฏฐี

  • เรื่อง ไฟชีวิต
  • หญิง : สวลี ผกาพันธ์
  • ชาย : สุรชัย ดิลกวิลาศ

และยังมีบทประพันธ์สำหรับเพลงเดินเรื่องอีกมากมาย ที่ใช้ในการแสดงทั้งละครเวที, ภาพยนต์, ละครวิทยุและละครโทรทัศน์


  • คอนเสิร์ต หนี่งร้อยปีเกิด ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง
เพลงคลาสิคสยาม 100 ปี ชาตกาล ดุริยกวี ศิลปินแห่งชาติ


  • ใจโจร - อัมพร ชัชกุล,ลัดดา สารตายน [ ศิลปบรรเลง ]
  • เพลงใจโจร ประพันธ์โดยคุณหลวงวิจิตรวาทการ








  • บุปผาบาน - ลัดดา ศิลป บรรเลง [ สารตายน ]
เพลงบุปผาบานขับร้องโดยคุณครูลัดดา สารตายน ทำนอง เรียบเรียงเสียงประสาน ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง
อัดเสียงที่ห้องอัดเสียง กุมุท จันทร์เรือง ถนนเศรษฐศิริ ปัจจุบันคือ ร พ วิชัยยุทธ
อ.ประสิทธิ์กำกับวงดนตรีประมาณ14ชิ้นด้วยตนเอง





  • ยามสิ้นแสงตะวัน - ลัดดา ศิลปบรรเลง [ สารตายน ]
เพลงยามสิ้นแสงตะวัน ขับร้องโดยครูลัดดา สารตายน  ทำนอง เสียงประสาน กำกับเพลง ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง อัดที่ห้องอัดเสียงกุมุท จันทร์เรือง ปัจจุบันคือ ร พ วิชัยยุทธ





  • การแสดงบทเพลง ของประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง
การแสดงบทเพลง ของประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง  โดยวงPrime Philharmonic Orchestra จากเกาหลีที่ศูนย์วัฒนธรรม





  • CherdNai เชิดใน Prime Philharmonic Orchestra
ประพันธ์ขึ้นใหม่จากเพลงไทยเดิมของบิดา(หลวงประดิษฐไพเราะ หรือ ศร ศิลปบรรเลง)
ในทำนองไกล้เคียงกับที่ Dvorak ประพันธ์ From the new world  โดยอาศัยทำนองเพลงของชนชาวอินเดียนที่อยู่ในอเมรืกามาช้านาน
อ.ประสิทธิ์ทำ piano conductor score เสร็จก็ล้มป่วยด้วยโรคปอดอักเสบไม่มีแรงทำ arrangement และ orchestration ได้ จึงขอให้คุณJohn Georgiadis ทำแทนท่าน โดยเขียนกำกับไป 8 ข้อเพื่อให้คุณJohn ทำตาม
เมื่อcomplete scoresส่งมาจากคุณJohn ท่านก็เสียชีวิตไปได้1เดือนแล้ว ไม่มีโอกาสได้ฟัง Overture นี้

กลับด้านบน