คำวิจารณ์

(Review)

จากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ฉบับประจำวันที่ 11 ตุลาคม 2553 “ชีวิตที่เลือกได้” โดย ชัยอนันต์ สมุทวานิช ในปี พ.ศ. 2497 ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ได้ประพันธ์บทเพลงซิมโฟนีชื่อ Siamese Suite เพื่อไปร่วมแสดงในงาน South East Asia Music Conference ที่กรุงมนิลา เมื่อจบการบรรเลงผู้ฟังทั้งหมดได้ยืนปรบมือให้เป็นเวลานาน

ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง เป็นผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย นอกจากนั้นยังมีความสามารถด้านดนตรีสากลเป็นอย่างสูงอีกด้วย เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักแต่งเพลงระดับคลาสสิค มีรูปแบบของบทเพลงซิมโฟนี ผมอยากแนะนำให้ท่านผู้อ่านไปหาซีดีเพลงของประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงมาฟังดู แม้จะหายากสักหน่อย

จากนิตยสาร Wave 146 May 06 “ดนตรีไทยบนเวทีโลก” โดย Pichet Lim

งานเพลงของอาจารย์ประสิทธิ์ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะคุณค่าในเชิงวิชาการและการศึกษาวิชาดนตรีสากล งานของอาจารย์ประสิทธิ์ในรูปแบบของลูก ๆ หลาน ๆในครอบครัวศิลปบรรเลงที่ต้องการอนุรักษ์ศิลปะที่ทรงคุณค่าของคนไทย ที่สร้างสรรค์โดยคนไทย มีความยิ่งใหญ่และได้รับการยอมรับในระดับสากล ไว้ให้ลูกหลานไทยได้ซาบซึ้งถึงความยิ่งใหญ่ของเพลงไทยกันโดยทั่วถึง

จากมติชน สุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 18 – 24 เมษายน 2551 “วาบความคิด” โดยอาจินต์ ปัญจพรรค์

โมสาร์ท Vs ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ผมคลั่งโมสาร์ทและเปิดเพลงของโมสาร์ทเป็นชั่วโมง แต่เมื่อคุณอารีย์ นักดนตรีส่งซีดีเพลงชุด “เสี่ยงเทียน” ของอาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง มาให้ผมสดับเป็นครั้งแรกในชีวิต ผมเอาโมสาร์ทออก เอาเพลง “เสี่ยงเทียน” ของอาจารย์ประสิทธิ์ขึ้นแท่นจนกระทั่งทุกวันนี้ ฟัง ”เสี่ยงเทียน” กล่อมประสาท กล่อมอารมณ์ให้หลับสบาย

จาก Stereo Magazine 2006/125 ซีดี “สายสัมพันธ์”

การบันทึกเสียงใช้วิธีเล่นและร้องไปพร้อม ๆ กัน (อัดสด) สุ้มเสียงออกมานุ่ม เนียน มีกังวาน ได้บรรยากาศของห้องอัดออกมาอย่างสมจริง ฟังแบบผ่าน ๆ ทีแรกนึกว่าฟังแผ่นโอเปร่าของ Living Stereo อยู่ เป็นอีกครั้งที่ฝรั่งบันทึกเสียงได้ดีกว่าไทย โดยเฉพาะเสียงร้องที่กลมกลืน แต่ไม่มีถูกลบโดยเสียงดนตรี ตรงกันข้ามดนตรีจะช่วยอุ้มเสียงร้องให้คลอ ๆ กันไปแบบส่งเสริมซึ่งกันและกัน ผมอยากจะชักชวนให้ท่านผู้อ่านแฟนสเตอริโอได้ลองฟังเพลงแบบนี้ดูบ้าง ฟังไปสักพัก ความสวยงาม สละสลวยของท่วงทำนองและคำร้องจะค่อย ๆ ประเล้าประโลมและชักนำคุณให้เข้าไปสู่โลกแห่งเสียงเพลงได้อย่างดื่มด่ำ ลึกซึ้ง ไม่เหมือนกับเพลงสมัยใหม่หลาย ๆ เพลง ที่ฟังกันได้แค่ฉาบฉวย หากแต่ด้อยคุณค่าทางศิลปะ

เพลงที่คนไทยต้องฟัง/ต่อพงษ์ โดย ต่อพงษ์ 18 มีนาคม 2548 12:05 น.

หลายต่อหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา งานประกาศรางวัลภาพยนต์ที่รับได้ว่าเป็นสถาบันต่างๆนั้น ปรากฎว่า หนังเรื่อง "โหมโรง" กวาดรางวัลภาพยนต์ยอดเยื่อมไปกับชนิดไร้ราคาต่อรอง
หนังเขาดีจริงๆครับ ดูแล้วต้องลุกไปหาเพลงไทยเดิมมาฟังต่อ
จำได้ว่าตอนเข้าโรงทีแรกหนังเข้าแบบไร้หนทางมากๆ แต่เพราะเกิดกระแสปากต่อปากบอกถึงความดีเด่นในภาพยนต์เรื่องนี้ จนสุดท้ายใครไม่ทราบออกสโลแกนว่า โหมโรงเป็นหนังไทยที่คนไทยต้องดู คนไทยก็เลยแห่ไปดูกันแล้วก็ได้รับความอิ่มเอมสมกับสโลแกนที่ว่า อ่านต่อ..