ประวัติและผลงานของอาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง

(Biography)

ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2455 ที่บ้านหน้าวังบูรพาภิรมย์ (ริมคลองโอ่งอ่าง) กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 6 ของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) จางวางมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระเอกนักระนาดเอกในภาพยนต์เรื่อง โหมโรง ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักระนาดเอกที่เก่งกาจ และอาจารย์ผู้ประพันธ์ดนตรีไทยผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ และถือเป็นปูชนียบุคคล ทางศิลปดนตรีไทยของชาติไทย และนางโชติ (หุราพันธุ์) ประดิษฐไพเราะ
ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง สมรสกับ นางสาวลัดดา สารตายน มีบุตรชาย 1 คน หญิง 1 คน คือ รศ.ดร.กุลธร ศิลปบรรเลง และ นางวัลย์ลดา (ศิลปบรรเลง) หงส์ทอง

Prasidh Silapabanleng
National Artist Field of Performing Art (Music Composition)
Prasidh Silapabanleng was born on July 10, 1912, as the sixth son of Luang Praditphairoh and Mrs. Chote (Huraphan) Prditphairoh. He was educated up to the Mathayom 8, a pre university class, of the old education system.
He studied Thai music (and played all the traditional Thai musical instruments) from his father, one of the most celebrated classical Thai music masters and composers, until he became and expert. Apart from Thai music, Prasidh was extremely interested in the western music. He gained his father’s support and was sent to Withayasakol, the first private music school in Thailand, with Pra Jen Duriyang as the director. He also took piano lesson with Nart Tavornbutr.
On the occasion that he accompanied the musical and dance troupe of the Fine Arts Department on the program of cultural exchange to Japan in 1934, he started his western music study at the Imperial Academy of Music,Geidai University, in Tokyo, for four years, majoring in music composition and conducting. He was the first Thai to have been graduated with Bachelor Degree in Music Composition from a foreign university. Pasidh was also a fond student of a German professor Dr. Klaus Pringsheim, who himself was a student of several world renowned composers including Gustav Mahler and Richard Strauss.
Prasidh Silapabanleng’s early compositions were mainly songs and musical pieces for various stage plays, performed by a western styled pit orchestra. His first major composition the “Siamese Suite”, a symphony in 4 movements, entered by Prasidh in response to the invitation of the Belgian’s international competition of music composition in 1954, was first performed at the Southeast Asian Music Conference in Manila by the Philippines National Symphony Orchestra. It was performed for the Thai Audience in 1981.
At 77 years of age, he composed a Symphonic Poem called “Siang Tian” by rearranging and orchestrating compositions of his father, to be performed by a symphony orchestra with female chorus, a synthesis of Thai and Western music. The piece was lauded as a masterpiece both in Thai and and foreign countries. The Siang Tian was issued on CD in 1996, with Mr. John Georgiadis conducting the Bangkok Symphony Orchestra.
In June 1998 when Prasidh was almost 86 years old, at the request of the President of Assumption University (ABAC) of Bangkok, Prasidh composed two songs, also now on CD for the University. To honour the great King Bhumiphol of Thailand, Prasidh wrote a new composition in early 1999 called “Cherd Nai” based on the traditional Thai music of his father. The Cherd Nai was composed to be performed as an Overture. The Cherd Nai and other compositions of Prasidh were issued on CD in 2004, with Mr. Terje Mikkelsen of Norway conducting the Latvian National Symphony Orchestra.
On December 11, 1998 Prasidh Silapabanleng was nominated and proclaimed the “National Artist (Composer)” by the National Committee for the Selection of National Artists under the Ministry of Education . Prasidh was granted a royal audience for the award presentation. A plaque of honour was given by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorm as his award of recognition.
To preserve his other compositions, a third album of Prasidh’s works called the “Sai Sumphun” was issued on CD in 2005 with Mr. Terje Mikkelsen of Norway conducting the Latvian National Symphony Orchestra. All the works of Prasidh recorded in 3 albums of CD have been sponsored by his son, Dr. Kulthorn Silapabanleng, with his last and fond pupil Apsorn Kurmarohita assisting in the preparation of scores and parts.
Prasidh Silapabanleng passed away on September 4, 1999 after suffering from bout of Pneumonia. He was 87 years old.

รูปถ่ายครอบครัว บุตรธิดาและหลานสาว

ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงและลัดดา สารตายน เมื่อแรกแต่งงานและไป honeymoon


อ.ประสิทธิ์ เมื่อครั้งที่ศึกษาในญี่ปุ่น


พิธีไหว้ครูที่บ้านบาตร


อายุวัฒนะ ศิลปบรรเลง

A study of a unique artist and his music:Prasidh Silapabanleng 1912-1999​

 

ถิ่นกำเนิด


รูปภาพครูลัดดา สารตายน ศิลปบรรเลง สมัยสาวและสูงวัย


ฃองจดหมายติดต่อจากต่างชาติ


ประวัติและผลงาน ครูลัดดา ศิลปบรรเลง

(Biography)



ผลงานสมัยเริ่มแรก
สมัยเป็นนักเรียนโรงเรียนนาฏดุริยางค์ กรมศิลปากร ครูลัดดาได้รับเลือกจากหลวงวิจิตรวาทการให้ขึ้นเวทีเล่นละครตั้งแต่เป็นนักเรียนจนกระทั่งเป็นครูของโรงเรียนนาฏดุริยางค์ ได้เคยเดินทางไปแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยที่ประเทศญี่ปุ่นและแมนจูเรีย เมื่อ พ.ศ. 2477 พร้อมกับคุณหญิงประภาพรรณ วิจิตรวาทการ และคุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง การแสดงที่ญี่ปุ่นนั้นเดินทางไปตามหัวเมืองสำคัญต่างๆ ประสบความสำเร็จอย่างมาก

เมื่อกลับมาจากญี่ปุ่น นับได้ว่า ครูลัดดา สารตายน เป็นดาราผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในการแสดงละครของหลวงวิจิตรวาทการในยุคนั้น รับบททั้งพระเอกนางเอก ปรากฏอยู่ในข้อมูลการแสดงละครของหลวงวิจิตรวาทการแทบทุกเรื่อง เช่น เลือดสุพรรณ, เจ้าหญิงแสนหวี, พ่อขุนผาเมือง ฯลฯ นอกจากนั้น ยังได้รับเลือกให้ขับร้องเพลงไทยและเพลงปลุกใจในแผ่นเสียงครั่งสมัยก่อนเป็นที่นิยมของผู้ฟัง

ก่อตั้งคณะละครผกาวลีและกำกับการแสดงภาพยนตร์
เมื่อลาออกจากกรมศิลปากร หลังจากที่แต่งงานแล้ว ประมาณ พ.ศ. 2485 ได้ร่วมกับครอบครัวศิลปบรรเลงก่อตั้งคณะละครเวทีชื่อ “คณะศิษย์เก่าศิลปากร” แสดงละครเรื่อง “ผกาวลี” จากความสำเร็จของละครเรื่องนี้ ต่อมาจึงเป็นผลให้เปลี่ยนชื่อคณะละครเป็นผกาวลีในที่สุด และได้จัดการแสดงละครเวทีอีกหลายเรื่องที่เวทีเฉลิมไทย เฉลิมนคร โดยครูลัดดาทำหน้าที่เป็นผู้กำกับการแสดงทุกเรื่องและแสดงเองเป็นบางเรื่อง เช่น เจ้าหญิงเวียงฟ้า, เกียรติศักดิ์รักของข้า, แม็คเบ็ธ

ที่คณะละครผกาวลีนี้เอง เป็นต้นกำเนิดของศิลปินที่มีชื่อเสียงต่อมาหลายท่าน ทั้งการขับร้องและการแสดง เช่น สวลี ผกาพันธ์, อุโฆษ จันทร์เรือง, ชูศรี โรจนประดิษฐ์, วลิต สนธิรัตน์, อดิศักดิ์ เศวตนันท์, ส.อาสนจินดา เป็นต้น ศิลปินเหล่านี้ในภายหลังได้สร้างสรรค์ผลงานแก่สังคมมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยแรงบันดาลใจที่ได้ต้นแบบมาจากครูลัดดา

เมื่อการแสดงละครเวทีต้องหยุดชะงักลงเพราะไม่สามารถจะแข่งขันกับภาพยนตร์ที่เข้ามาจากต่างประเทศได้ ศิลปินไทยจึงต้องหันไปทำงานอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เริ่มตั้งแต่ ภาพยนตร์ 16 ม.ม. จนถึง 35 ม.ม. ครูลัดดาได้รับเชิญให้เป็นผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ 35 ม.ม. เรื่อง “ขบวนเสรีจีน” โดยมีสวลี ผกาพันธ์ เป็นนางเอก และครูลัดดายังเป็นผู้แต่งเนื้อร้องเพลงเอกประจำภาพยนตร์เรื่องนี้คือ “ ..” โดยมีครูประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงเป็นผู้แต่งทำนองและเรียบเรียงเสียงประสาน

ก่อตั้งโรงเรียนผกาวลีนาฏดุริยางค์และจัดการแสดงนาฏศิลป์ไทย
เมื่อเสร็จสิ้นสงคราม มีชาวต่างประเทศสนใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมาก ครูลัดดาร่วมกับครอบครัวศิลปบรรเลงจัดการแสดงวิพิธทัศนาให้ชาวต่างประเทศชมที่บ้านศิลปบรรเลง กิจกรรมที่อยู่ในการแสดงประกอบไปด้วยการจับระบำต่างๆ มีทั้งโขนละคร การแสดงศิลปป้องกันตัว การดนตรี โดยครูลัดดาเป็นผู้ออกแบบท่ารำและจัดเตรียมชุดการแสดงต่างๆ โดยเน้นความกระชับ สามารถเข้าใจได้โดยง่าย มีการอธิบายเป็นภาษาอังกฤษทั้งสูจิบัตรและบรรยายสดให้ผู้ชมต่างประเทศสามารถเข้าถึงความงามและคุณค่าที่ปรากฏอยู่ในการแสดงนั้น นักแสดงที่ร่วมงานมาจากคณะศิาย์ครูลัดดาที่เคยศึกษาอยู่โรงเรียนนาฏดุริยางค์ กรมศิลปากร ลูกหลานในครอบครัว และศิษย์ท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) รวมทั้งผู้สนใจในอาชีพทางนาฏศิลป์มาสมัครเป็นนักเรียนที่โรงเรียนผกาวลีนาฏดุริยางค์ นักแสดงเหล่านี้ ในภายหลังได้เป็นกำลังสำคัญในการสอนวิชานาฏศิลป์และดนตรีไทยในสถาบันการศึกษาต่างๆทั้งในและต่างประเทศ

ร่วมก่อตั้งมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
ในปี พ.ศ. 2524 เป็นปีครบรอบ 100 ปีเกิดท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ครูลัดดา ได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ และยังคงเป็นที่ปรึกษาอยู่จนถึงปัจจุบัน การดำเนินงานของมูลนิธิฯในทุกครั้ง ครูลัดดาเป็นผู้มีส่วนสนับสนุน ร่วมกิจกรรมการสืบสานดนตรีไทย เช่น เป็นกรรมการตัดสินการประกวดดนตรีศรทอง เป็นผู้ให้สนับสนุนทุนทรัพย์ในการจัดงานมหกรรมดนตรีศรีรัตนโกสินทร์ฉลอง 120 ปี ท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะที่โรงละครแห่งชาติและให้การสนับสนุนในการจัดพิธีไหว้ครูทุกๆปี ผลสำเร็จด้านหนึ่งที่เป็นที่ประจักษ์ของสังคมไทยคือ การดำเนินงานสืบสานศิลปวัฒนธรรมดนตรีไทยของมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้ทำให้เยาวชนไทยหันมาสนในศึกษาและสืบทอดดนตรีไทยอย่างจริงจัง นอกเหนือไปจากการสนับสนุนของภาครัฐ เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจสำหรับผู้อยู่เบื้องหลังเช่นครูลัดดา
เป็นที่ปรึกษามูลนิธิสด-เนียน กูรมะโรหิต

เนื่องจากครูลัดดาและครูประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับคุณสดและคุณเนียน กูรมะโรหิตในการทำงานละครหลายเรื่อง จึงได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาของมูลนิธิสด-เนียน กูรมะโรหิต และทุกปีที่ทางมูลนิธิฯนี้ทำบุญในเดือนกุมภาพันธ์ จะมีการแสดงผลงานเพลงของครูประสิทธิ์และครูลัดดา ศิลปบรรเลงเพื่อเป็นเกียรติ
เป็นแหล่งวิชาความรู้ทางด้านศิลปการแสดง

ความรู้ของครูลัดดาที่สั่งสมมาตลอดชีวิต เป็นความรู้ที่พัฒนาจากรากฐานเดิมและสร้างสรรค์ใหม่ ไม่เพียงแต่การถ่ายทอดในอดีตที่กระทำต่อเนื่องมา เป็นบ่อน้ำทางปัญญาให้นิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆเข้ามาตักตวงเรียนรู้ มาเก็บข้อมูลเพื่อทำงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับด้านศิลปการแสดง แม้กระทั่งผลงานภาพยนตร์ไทยที่มีชื่อเสียงที่สุดเรื่องในปี 2547 คือ “โหมโรง” ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากชีวิตของท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ทางฝ่ายผู้สร้างและผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับกำลังใจและคำแนะนำที่ดีในหลายๆด้านจากครูลัดดาและครอบครัว รวมทั้งให้ยืมเครื่องดนตรีต้นแบบซึ่งเคยเป็นสมบัติของตระกูลไปใช้เข้าฉากในภาพยนตร์ด้วย

การเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมภายในประเทศ
เมื่อจัดตั้งโรงเรียนผกาวลีนาฏดุริยางค์ ได้จัดให้นักเรียนได้แสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทยให้ชาวต่างประเทศชมที่โรงละครในบ้านศิลปบรรเลง ต.บ้านบาตร อ.ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระนคร โรงละครแห่งนี้เป็นเสมือนห้องรับแขกต้อนรับอาคันตุกะที่มาเยือน มีห้องอาหาร มีบรรยากาศทางศิลปวัฒนธรรมให้สัมผัส มีการแสดงสดๆที่สามารถสื่อสารกับผู้ชมได้ใกล้ชิด ทำให้เป็นที่ประทับใจเล่าขานกันในบรรดาชาวต่างประเทศที่มารู้จักประเทศไทยในเวลานั้น ห้องรับแขกทางวัฒนธรรมนี้ ได้เคยต้อนรับบุคคลสำคัญหลายท่าน อาทิ เจ้าชาย ฮวน คาลอส มกุฏราชกุมารแห่งราชอาณาจักรสเปน และเจ้าหญิงโซเฟีย พระชายา, เอ็ดเวิร์ด จี.โรบินสัน, แอน แบ็กสเตอร์ ดาราภาพยนตร์จาก ฮอลลีวู๊ด, ริชาร์ด นอยตรา และบักมินสเตอร์ ฟูลเลอร์ สถาปนิกโลก รวมทั้งยังมีบุคคลสำคัญทางเศรษฐกิจการเมืองสังคมอีกหลายท่านที่เคยมาเยี่ยมชมการแสดงของคณะนาฏศิลป์ผกาวลี ภาระหน้าที่ของครูลัดดาในเวลานั้น เสมือนกัปตันผู้คุมหางเสือเรือทางวัฒนธรรมในภาคเอกชน ซึ่งเหนื่อยยากลำบากทำงานปิดทองหลังพระเพื่อประเทศชาติโดยที่ภาครัฐบาลไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญเช่นนี้มาก่อน นอกจากจะเป็นห้องรับแขก ยังเป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมกับมิตรประเทศ เช่น สถาบันนาฏศิลป์ซาคากิบาราแห่งกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น เคยส่งคณะนาฏศิลป์มาแลกเปลี่ยนความรู้กับนักแสดงชาวไทย และจัดการแสดงร่วมกันในภายหลัง
การเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมภายนอกประเทศ

เมื่อคณะนาฏศิลป์ผกาวลีมีชื่อเสียงจากกิจกรรมการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม จึงได้มีผู้สนใจเชื้อเชิญให้ทางคณะออกเดินทางไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในต่างประเทศหลายครั้ง เริ่มต้นจากองค์กรการศึกษาและวัฒนธรรมแห่งสหประชาติ ยูเนสโก ติดต่อให้เดินทางไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมใน พ.ศ. 2505 โดยเดินทางไปทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา และต่อมา องค์กรวัฒนธรรมแห่งอเมริกาใต้ เชิญให้เดินทางอีกครั้งในปี 2513 ทั้งสองครั้งที่เดินทาง ครูลัดดาและครูประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ ผู้ออกแบบท่ารำ ผู้ฝึกซ้อม ผู้ประสานงาน ควบคุมดูแลศิลปินในคณะให้เดินทางและแสดงได้อย่างประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี การเดินทางครั้งแรก ประเทศที่เดินทางไปได้แก่ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ค นอร์เวย์ สวีเดน อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาซึ่งเดินทางตระเวนไปกว่า 30 รัฐ รวมเวลาทั้งสิ้นในยุโรปและสหรัฐอเมริกา 2 เดือน การเดินทางครั้งที่สอง เดินทางไปในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ประเทศที่ไปเยือนได้แก่ บราซิล ชิลี อาร์เจนตินา อุรุกวัย เปรู และในสหรัฐอเมริกา รวมเวลาทั้งสิ้นในการเดินทางครั้งนี้กว่า 5 เดือนเศษ เส้นทางการเดินทางในอดีตนั้น ระบบคมนาคมและการสื่อสารแตกต่างจากในปัจจุบันมาก ต้องใช้ยานพาหนะหลายรูปแบบ ทั้งการบิน การนั่งรถไฟ รถบัส เพื่อให้ไปถึงสถานที่แสดง ต้องขนอุปกรณ์การแสดงและเครื่องดนตรีไปอย่างรัดกุม ออกแบบบรรจุหีบห่ออย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ร่วมเดินทางทุกคนต้องมีความสามารถในทางจัดการเพื่อการแสดงอย่างรวดเร็ว เป็นทีมเวิร์คที่มีคุณภาพมาก ประสบการณ์ในการเดินทางและการแสดงของครูลัดดาและคณะผกาวลีแม้จนทุกวันนี้ยังเป็นเรื่องที่น่าศึกษาสำหรับผู้สนใจ ผลของการเดินทางเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมต่างประเทศ ทำให้ผู้คนที่ได้ดูชมการแสดงหรือแม้กระทั่งทราบข่าวคราวประชาสัมพันธ์ ได้รู้จักและชื่นชมคนไทย ซาบซึ้งในความงามของดนตรีนาฏศิลป์ไทยที่ถ่ายทอดผ่านคณะผกาวลี ทุกเวทีที่ได้แสดงจบลงด้วยเสียงปรบมือดังสนั่นและความเข้าใจอันดีต่อศิลปวัฒนธรรมไทยที่น่าภาคภูมิใจยิ่ง

งานแสดงของคณะผกาวลี อ.ลัดดา ศิลปบรรเลง (สารตายน)

1.ผกาวลี (พ.ศ.2519),โรงละครแห่งชาติ
1.หลวงบุยมานพ นามปากกาของท่านคือ “แสงทอง” เรื่องและบทละคร
2.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง สร้างและออกแบบเครื่องแต่งตัวนักแสดง
3.โหมด ว่องสวัสดิ์ สร้างฉากละคร
4.ประสิทธ์ ศิลปบรรเลง ประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี
5.ลัดดา สารตายน ประพันธ์คำร้อง (โอ้รัก,เสียแรงรัก)กำกับการแสดง
นางเอก อนงค์ นาคสวัสดิ์
พระเอก อุโฆษ จันทร์เรือง

2.เกียรติศักดิ์ รักของข้า (พ.ศ.2491),โรงละครแห่งชาติ
1.มาลัย ชูพินิจ เรื่องและบทละคร
2.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง สร้างและออกแบบเครื่องแต่งตัวนักแสดง
3.โหมด ว่องสวัสดิ์ สร้างฉากละคร
4.ประสิทธ์ ศิลปบรรเลง ประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี
5.ลัดดา สารตายน ประพันธ์คำร้อง(ดวงใจ,อยากจะลืม,ชื่นใจ) กำกับการแสดง
นางเอก ลัดดา สารตายน
พระเอก ประเทือง สายพันธ์

3.เวียงฟ้า (พ.ศ.2491),โรงละครเฉลิมนคร
1.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง สร้างและออกแบบเครื่องแต่งตัวนักแสดง
2.ครูประสิทธ์ ศิลปบรรเลง ประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี
3.ลัดดา สารตายน ประพันธ์คำร้อง (สายสัมพันธ์,ความสุข) กำกับการแสดง
นางเอก ลัดดา สารตายน
พระเอก ประวัติ ผิวเผือก (ทัต เอกทัต)

4.ดาราวัล (พ.ศ.2492),โรงละครเฉลิมนคร
1.กุมุท จันทร์เรือง เรื่อง และบทละคร
2.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง สร้างและออกแบบเครื่องแต่งตัวนักแสดง
3.ประสิทธ์ ศิลปบรรเลง ประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี
4.ลัดดา สารตายน ประพันธ์คำร้อง (หวานรื่น)กำกับการแสดง
นางเอก ยุวดี วิจิตรานนท์
พระเอก อุโฆษ จันทร์เรือง

5.เงือกน้อย (พ.ศ.2492),โรงละครเฉลิมนคร
1.กุมุท จันทร์เรือง เรื่อง และบทละคร
2.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง สร้างและออกแบบเครื่องแต่งตัวนักแสดง
3.ประสิทธ์ ศิลปบรรเลง ประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี
4.ลัดดา สารตายน ประพันธ์คำร้อง (โอ้จันทรา,บุปผาบาน)กำกับการแสดง
นางเอก พรรณิณี รุทธวนิช
พระเอก อุโฆษ จันทร์เรือง

6.มนต์นาคราช (พ.ศ.2492),โรงละครเฉลิมนคร
1.กุมุท จันทร์เรือง เรื่อง และบทละคร
2.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง สร้างและออกแบบเครื่องแต่งตัวนักแสดง
3.ครูประสิทธ์ ศิลปบรรเลง ประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี
4.ลัดดา สารตายน ประพันธ์คำร้อง (มนต์นาคราช) กำกับการแสดง
นางเอก พรรณี สำเร็จประสงค์
พระเอก อุโฆษ จันทร์เรือง

7.ธิดาเจ้าราชบุตร (พ.ศ.2491),โรงละครศาลาเฉลิมไทย
1.ภากร สารานุประพันธ์ เรื่อง และบทละคร
2.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง สร้างและออกแบบเครื่องแต่งตัวนักแสดง
3.ประสิทธ์ ศิลปบรรเลง ประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี
4.ลัดดา สารตายน ประพันธ์คำร้อง (งามเพียงจันทร์,เสี่ยงเทียน)กำกับการแสดง
นางเอก เกษแก้ว มาสะวิสุทธิ์
พระเอก ปิติ เปลี่ยนสายสืบ

8.ชายชาติชั่ว (พ.ศ.2492),โรงละครเฉลิมนคร
1.กุมุท จันทร์เรือง เรื่อง และบทละคร
2.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง สร้างและออกแบบเครื่องแต่งตัวนักแสดง
3.ครูประสิทธ์ ศิลปบรรเลง ประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี
4.ลัดดา สารตายน ประพันธ์คำร้อง (ยามสิ้นแสงตะวัน) กำกับการแสดง
นางเอก สวลี ผกาพันธุ์
พระเอก อุโฆษ จันทร์เรือง

9.แผ่นดินแห่งความฝัน (พ.ศ.2493),โรงละครเฉลิมนคร
1.สด กูรมะโรหิต เรื่อง และบทละคร
2.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง สร้างและออกแบบเครื่องแต่งตัวนักแสดง
3.ครูประสิทธ์ ศิลปบรรเลง ประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี
4.ลัดดา สารตายน ประพันคำร้อง (งามงอน,เริงแข) กำกับการแสดง
นางเอก สวลี ผกาพันธุ์
พระเอก อดิศักดิ์ เตวตรนันนท์

10.ความพยาบาท (พ.ศ.2493),โรงละครเฉลิมนคร
1.สด กูรมะโรหิต เรื่อง และบทละคร
2.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง สร้างและออกแบบเครื่องแต่งตัวนักแสดง
3.ประสิทธ์ ศิลปบรรเลง ประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี
4.ลัดดา สารตายน ประพันธ์คำร้อง (ดวงดาวกับความรัก,โอ้ยอดดวงใจ,โสมสวาท) กำกับการแส
นางเอก สวลี ผกาพันธุ์
พระเอก ส. อาสนจินดา

11.เงาะป่า (พ.ศ.2493),โรงละครเฉลิมนคร
1.สด กูรมะโรหิต เรื่อง และบทละคร
2.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง สร้างและออกแบบเครื่องแต่งตัวนักแสดง
3.ประสิทธ์ ศิลปบรรเลง ประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี
4.ลัดดา สารตายน ประพันธ์คำร้อง (รักแท้) กำกับการแสดง
นางเอก สวลี ผกาพันธุ์
พระเอก วลิต สนธิรัตน์

12.ขบวนเสรีจีน (พ.ศ.2493),โรงละครศาลาเฉลิมไทย
1.สด กูรมะโรหิต เรื่อง และบทละคร
2.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง สร้างและออกแบบเครื่องแต่งตัวนักแสดง
3.ครูประสิทธ์ ศิลปบรรเลง ประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี
4.ลัดดา สารตายน ประพันธ์คำร้อง (ความรักครวญหา,ดอกเถา) กำกับการแสดง
นางเอก สวลี ผกาพันธุ์
พระเอก อารี โทณวนิก

13.ซิสก้า (พ.ศ.2493),โรงละครเฉลิมนคร
1.สด กูรมะโรหิต เรื่อง และบทละคร
2.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง สร้างและออกแบบเครื่องแต่งตัวนักแสดง
3.ครูประสิทธ์ ศิลปบรรเลง ประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี
4.ลัดดา สารตายน ประพันธ์คำร้อง (ยามรัก)กำกับการแสดง
นางเอก สวลี ผกาพันธุ์
พระเอก วลิต สนธิรัตน์

14.แม็คเบ็ต (พ.ศ.2493),โรงละครศาลาเฉลิมไทย
1.กุมท จันทร์เรือง เรื่อง และบทละคร
2.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง สร้างและออกแบบเครื่องแต่งตัวนักแสดง
3.ครูประสิทธ์ ศิลปบรรเลง ประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี
4.ลัดดา สารตายน กำกับการแสดง
นางเอก ลัดดา สารตายน
พระเอก วสันต์ สุนทรปักษิณ

15.สร้อยไข่มุกด์ ,โรงละครศาลาเฉลิมไทย
1.กุมท จันทร์เรือง เรื่อง และบทละคร
2.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง สร้างและออกแบบเครื่องแต่งตัวนักแสดง
3.ประสิทธ์ ศิลปบรรเลง ประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี
4.ลัดดา สารตายน ประพันธ์คำร้อง (มิ่งขวัญคู่ฟ้า,หัวใจทรมาน) กำกับการแสดง
พระเอก อุโฆษ จันทร์เรือง

16.ภาพยนตร์ไฟชีวิต ,โรงภาพยนตร์โอเดียน
1.สด กูรมะโรหิต กำกับภาพยนตร์
2.ลัดดา สารตายน ประพันธ์คำร้อง (จันทราพาฝัน)กำกับการแสดง
ผู้แสดงนำชาย สุรชัย ลูกสุรินทร์
ผู้แสดงนำหญิง สวลี ผกาพันธ์

ดำเนินทราย
ประพันธ์จากทำนองเดิมของ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) โดย ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง
เรียบเรียงเสียงประสานโดย อัปสร กูรมะโรหิต
คำร้องโดย ลัดดา (สารตายน) ศิลปบรรเลง
ขับร้องโดย ใจรัตน์ พิทักษ์เจริญ
กลับด้านบน