ด้านการศึกษา

(The Study)

ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนเทพศิรินทร์จนถึงชั้นมัธยมปีที่ 2 แล้วได้ย้ายไปเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 3 ที่กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) จนจบหลักสูตรมัธยมศึกษา และได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ช่วงหนึ่ง พร้อมกันนั้นได้ศึกษาเพลงไทยและเล่นเครื่องดนตรีไทยทุกชนิดของบิดาจนมีความเชี่ยวชาญมาตามลำดับ
หลังจากเรียนรู้ด้านดนตรีไทยจากท่านบิดาจนเจนจบ ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ได้รับการสนับสนุนจากบิดาให้เข้าเรียนดนตรีสากลในตอนกลางคืนที่โรงเรียนวิทยาสากลซึ่งตั้งอยู่ที่สะพานมอญ ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนดนตรีเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย อำนวยการสอนโดยพระเจนดุริยางค์ ณ ที่นี้ ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงได้เรียนรู้ถึงทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น จากนั้นได้ไปเรียนการบรรเลงเปียโนกับครูนารถ ถาวรบุตร

สมัยศึกษาวิชาประพันธ์เพลงและอำนวยเพลงที่ญี่ปุ่น

การแสดงคอนเสริตของมหาวิทยาลัยเกได ประเทศญี่ปุ่นโดยนักศึกษาดนตรีสากลตะวันตก อำนวนเพลงโดย Dr.Pringsheim และประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ร่วมแสดงด้วย

ศ.ดร. Pringsheim ถ่ายภาพคู่กับลูกศิษย์ ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ลูกศิษย์ชาวไทยคนเดียวของท่าน

พ.ศ.2477 ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ได้ติดตามคณะนาฎศิลป์และดนตรีไทยของโรงเรียนนาฎดุริยางค์ กรมศิปากรไปแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมที่ประเทศญี่ปุ่น ในการเดินทางครั้งนั้น ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลงได้ศึกษาต่อด้านการประพันธ์เพลง และการกำกับวงของดนตรีสากลตะวันตก ที่สถาบันอิมพีเรียล อคาเดมี ออฟ มิวสิค มหาวิทยาลัย เกได (Imperial Academy of Music, Geidai University) ณ กรุงโตเกียว เป็นเวลา 4 ปี จนสำเร็จปริญญาตรีทางดนตรี ซึ่งเป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จได้รับปริญญาตรีทางด้านประพันธ์ดนตรี (Music Composition) และเป็นศิษย์เอกของอาจารย์ชาวเยอรมัน คือ ดร.เคลาส์ ปริงส์ไฮม์ (Dr. Klaus Pringsheim) ผู้เป็นศิษย์ของคีตกวีเอกของโลกถึง 2 ท่าน คือ กุสต๊าฟ มาห์เล่อร์ (Gustav Mahler) และ ริชาร์ด เสตร๊าส์ (Richard Strauss)


เอกสารจากสถานศึกษาที่กรุงโตเกียว


Tokyo Academy of Music S.B. Prasidh 2nd Principal Class B.E. 2479

Tokyo Academy of Music.3rd Prinsheim class บันทึกระหว่างศึกษาโดย อ ประสิทธิ์




CHROMATIC MODULATION THEORY

C.F. in Bass,Tenor,Alto,Sopran free

Graduate Draft

HARMONIES 2

Micellaneous Exercises P.1-P.23 October-November 1935

กลับด้านบน